เนื้อหา : บทความสาระน่ารู้
หมวดหมู่ : บทความทั่วไป
หัวข้อเรื่อง : วันลอยกระทง 2560 ประวัติวันลอยกระทง(Loy Krathong Festival)

จันทร์ ที่ 30 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2560

คะแนน vote : 341  

 วันลอยกระทง เป็นอีกวันหนึ่งที่สำคัญของชาวไทย ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนานั้นมักจะอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติประเพณีนี้กำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์หรือการขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อกันว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทของริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็เชื่อกันว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือว่าพระมหาสาวก สำหรับในประเทศไทยประเพณีลอยกระทงนั้นได้จัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ติดกับแม่น้ำ ติดลำคลอง หรือ อยู่ติดกับแหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่นั้นก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจและแตกต่างกันไป   และเดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงนั้นเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศเป็นผู้ที่ประดิษฐ์กระทงขึ้นเป็นครั้งแรก โดยแต่เดิมนั้นเรียกว่าพิธีจองเปรียงที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศก็ได้นำดอกโคทม ซึ่งจะเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะในวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่ในเทียนประทีป แต่ในปัจจุบันนั้นมีหลักฐานว่าไม่เก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมีอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ อยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3  

ในวันลอยกระทงนั้นส่วนใหญ่แล้วผู้คนมักจะพากันทำ กระทง ที่ทำจากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่นใบตอง กลีบดอกบัว ต้นกล้วย เป็นต้น และจะตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน มีการปักธูปเทียน และตัดเล็บ เส้นผมใส่ลงไปในกระทง หรืออาจจะใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทงด้วยก็ได้ จากนั้นก็นำไปลอยในบริเวณที่อยู่ติดกับแม่น้ำ ติดลำคลอง หรือ อยู่ติดกับแหล่งน้ำต่าง ๆ  และยังเชื่อกันว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป  นอกจากนี้ก็ยังเชื่อว่าการลอยกระทงนั้นเป็นการบูชาพระแม่คงคาอีกด้วย

                                                                    
 

ประเพณีการลอยกระทงในแต่ละท้องถิ่น

  • ภาคเหนือตอนบน จะนิยมทำโคมลอย ที่เรียกว่า "ลอยโคม" หรือเรียกว่า "ว่าวฮม" หรือเรียกว่า "ว่าวควัน" ที่ทำจากผ้าบางๆ แล้วนำมาสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบอลลูน และประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง ก็คือ การทำบุญวันเพ็ญเดือนยี่ (นับวันตามแบบล้านนา ซึ่งจะตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
  • จังหวัดเชียงใหม่ จะมีประเพณี "ยี่เป็ง" เชียงใหม่ ในทุกปีก็จะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตระการตาเลยทีเดียว และยังมีการปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้าอีกด้วย
  • จังหวัดตาก จะมีการลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย และเรียกว่า "กระทงสาย"
  • จังหวัดสุโขทัย จะมีขบวนแห่โคมชักโคมแขวน และมีการเล่นพลุตะไลและไฟพะเนียง
  • ภาคอีสาน ในอดีตนั้นจะมีการเรียกประเพณีลอยกระทงในภาคอีสานนั้นว่า สิบสองเพ็ง หมายถึง วันเพ็ญเดือนสิบสองซึ่งก็จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป
  • จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีชื่องานประเพณีว่า "สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป" ตามภาษาถิ่นนั้นมีความหมายว่า การขอขมาพระแม่คงคา ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง มีการประกวดประทีปโคมไฟและการประกวดกระทงอันสวยงาม และยังมีการจำลองแห่หัวเมืองสาเกตุนครทั้ง11 หัวเมืองอีกด้วยนะค่ะ
  • จังหวัดสกลนคร ในอดีตนั้นจะมีการลอยกระทงจากกาบกล้วย ลักษณะก็จะคล้ายกับการทำปราสาทผึ้งโบราณ และเรียกงานนี้กันว่าเทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน
  • จังหวัดนครพนม จะมีการตกแต่งเรือแล้วประดับไฟ ให้เป็นรูปต่างๆ และเรียกว่า "ไหลเรือไฟ" โดยเฉพาะที่จังหวัดนครพนมเพราะจะมีความงดงามและอลังการมากที่สุดในภาคอีสานเลยนะค่ะ
  • ภาคกลาง ก็จะมีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นทั่วทุกจังหวัด มีการจัดงานที่ยิ่งใหญ่
  • กรุงเทพมหานคร ก็จะมีงานภูเขาทอง แต่จะเป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนจะถึงงานลอยกระทง และก็จะจบลงในช่วงหลังจากวันลอยกระทง
  • จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็จะมีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภายในงานจะมีการจัดแสดงแสง สีและเสียง อย่างงดงามตระการตากันเลยทีเดียวค่ะ
  • ภาคใต้ ที่อำเภอหาดใหญ่และจังหวัดสงขลา ก็จะมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงเช่นเดียวกัน                                                                                                                                                                                                       
  •      ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง
    • เชื่อว่าเป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์นั้นได้ใช้น้ำ ได้ใช้ดื่มกิน และรวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำอีกด้วย
    • เชื่อว่าเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้ที่หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ที่ประเทศอินเดีย
    •  เชื่อว่าเป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมไปถึงโรคภัยต่างๆ ให้มันลอยไปกับแม่น้ำ
    • สำหรับชาวไทยในภาคเหนือนั้นมีความเชื่อว่า การลอยกระทงนั้นเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าที่ว่า พระอุปคุตนั้นทรงสามารถปราบพญามารได้  
    • กิจกรรมในวันลอยกระทง
      • นำกระทงไปลอยตามบริเวณแม่น้ำลำคลอง หรือตามบริเวณแหล่งน้ำต่างๆ ที่มีการจัดพิธี
      • ให้การสนับสนุนในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในวันลอยกระทง เช่น มีการประกวดกระทง มีประกวดนางนพมาศ มีการละเล่นพื้นเมือง เช่น การรำวงเพลงเรือ เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมไทย
      • มีการจัดนิทรรศการหรือจัดพิธีลอยกระทง เพื่อเป็นการเผยแพร่และอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของไทย
      • มีการจัดรณรงค์ให้มีการใช้วัสดุที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติมาทำกระทง จะไม่ให้เกิดมลภาวะแก่แม่น้ำลำคลองนั่นเอง
      •  
      • ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  www.rakjunk.com
      •  


เข้าชม : 5733


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      สมเด็จพระเทพฯ พระราชทาน ส.ค.ส. ปี 2561 ‘ปีจอขอให้ร่าเริง’ 8 / ธ.ค. / 2560
      วันที่ 5 ธ.ค.ของทุกปีเป็นวันสำคัญของชาติ 1. เป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร 30 / พ.ย. / 2560
      วันลอยกระทง 2560 ประวัติวันลอยกระทง(Loy Krathong Festival) 30 / ต.ค. / 2560
      สถานที่จัดพิธีถวายดอกไม้จันทน์ของประชาชน 5 / ต.ค. / 2560
      ความหมาย “ดอกไม้จันทน์” พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ 2 / ต.ค. / 2560