เนื้อหา : ข่าวประชาสัมพันธ์/กิจกรรม
หมวดหมู่ : ข่าวประชาสัมพันธ์ หัวข้อเรื่อง : ข่าวสารอาเซียน
พุธ ที่ 26 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2558
|
|
เครือข่ายอาเซียน
ภูมิศาสตร์การเมืองใหม่ในอาเซียน วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2558 เวลา 2:42 น.
สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับนักข่าวอาเซียนและกระทรวงการต่างประเทศจัดการประชุมเชิงวิชาการในหัว ข้อ “ภูมิศาสตร์การ เมืองใหม่ในภูมิภาค ผลกระทบต่อสามเสาหลักในภูมิภาคและประเทศสมาชิก” ได้รับเกียรติจาก ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียนและประธานสถาบันนวัตกรรมแห่งอนาคต (เอฟไอที) ขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษ “ประชาคมอาเซียนกับภูมิศาสตร์การเมืองใหม่ในภูมิภาค” เน้นย้ำบทบาทของสื่อมวลชนให้ผลักดัน “อาเซียน” ให้กลายเป็นวาระแห่งชาติในทุกประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ“
ดร.สุรินทร์กล่าวว่า ทุกวันนี้ไม่ใช่ทุกประเทศจะรู้สึกถึงความเป็นประชาคมอาเซียนในแบบที่เท่า เทียมกัน โดยตนต้องการจะเห็นอาเซียนเป็นนโยบายที่สำคัญของทุกประเทศจนถึงขั้น เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งใด ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องชูนโยบายที่เกี่ยวกับอาเซียนเพื่อเรียกคะแนนนิยม และเมื่อผู้นำประเทศพูดถึงอนาคตของชาติ อาเซียนจะเป็นกรอบในการขับเคลื่อนประเทศ“
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเริ่มอย่างเป็นทางการในเดือน ธ.ค.ปีนี้ ด้วยการรวมกันทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นนี้จะทำให้ภูมิภาคมีลักษณะเป็นตลาด ร่วม มีฐานการผลิตร่วมกัน และมีการไหลเวียนสินค้า ทุน บริการ และแรงงานอย่างอิสระในภูมิภาค ถ้าหากประชาคมเศรษฐกิจประสบความสำเร็จ ด้วยประชากรทั้งหมดราว 600 ล้านคน จะทำให้อาเซียนกลายเป็นตลาดและภูมิภาคที่ใหญ่กว่าสหภาพยุโรป (อียู) หรือการรวมกลุ่มในอเมริกาเหนือ แต่หากพูดถึงบทบาทของไทย ปัญหาใหญ่คือ ความแตกแยกในประเทศซึ่งจะต้องก้าวข้ามไปให้ได้ เนื่องจากเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านอื่น ๆ แม้ว่าไทยจะเป็นประเทศน่าลงทุน แต่การเติบโตและการลงทุนทางเศรษฐกิจไม่ได้หลั่งไหลเข้ามาเท่าที่ควร เนื่องจากความไม่มีเสถียรภาพ“
ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งประเทศ ไทยได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับ “สังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน” ว่า ควรมีการผลักดันให้เกิดการศึกษาเรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นใน มหาวิทยาลัยของประเทศไทยตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทั้งนี้ เนื่องจากอาเซียนมีการเปลี่ยนแปลงและมีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน แต่คนในภูมิภาคยังไม่รู้จักกันเสียด้วยซ้ำไป ทุกครั้งที่มีการประชุมก็จะเป็นการจัดประชุมแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล ความสัมพันธ์ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จะเป็นแบบรัฐต่อรัฐ อย่างไรก็ตาม หากจะให้ประชาชนในภูมิภาคเข้าใจกันเป็นอย่างดี ต้องหันมาส่งเสริมความสัมพันธ์ระดับระหว่างบุคคล โดยการจัดประชุมประชาชนในภูมิภาคอาเซียนให้ได้พบปะเข้าใจกัน ดร.ชาญวิทย์ยังเผยอีกว่า ต้องการเห็นการจัดตั้งมหาวิทยาลัยอาเซียนหรือมหาวิทยาลัยเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ เพื่อเรียนรู้เรื่องราวของอาเซียนร่วมกัน เหมือนที่อียูมีมหาวิทยาลัยเป็นของตนเอง ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศอิตาลี หากเราสามารถทำเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรมก็จะทำให้เราสามารถศึกษาและเรียนรู้ ร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น“
ด้าน รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงกล่าวว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องยุทธศาสตร์ตลอดมา โดยพื้นที่ที่ “อินโดแปซิฟิก” ขณะนี้จีน และสหรัฐอเมริกาได้ส่งเรือดำน้ำและเครื่องบินเข้ามาสอดแนมมากขึ้น ไม่ใช่แค่สองชาติมหาอำนาจนี้เท่านั้น ญี่ปุ่นก็เช่นกัน เร็ว ๆ นี้รัฐบาลโตเกียวเพิ่งแก้กฎหมายให้เรือรบชาติตนสามารถออกนอกทะเลอาณาเขตได้ อินเดียเองก็มีความร่วมมือกับกองทัพสหรัฐมากขึ้น ทั้งนี้ อินโดแปซิฟิกเป็นเส้นทางการขนส่งคมนาคมที่สำคัญ บวกกับการขยายตัวของอาเซียน และนโยบายสหรัฐที่ให้ความสำคัญกับเอเชียแปซิฟิก ยิ่งทำให้ประเด็นความมั่นคงทางทะเลเป็นที่น่าจับตามองมากขึ้นด้วย“
ไม่ใช่แค่มหาอำนาจแข่งขันกันเข้ามามีอิทธิพล ประเทศที่เล็กลงมาอย่าง ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และมาเลเซียต่างก็ขยับขยายอิทธิพลในแบบของตนเอง เมื่อทุกฝ่ายต่างขยายอำนาจ อาเซียนก็พยายามที่จะมีการประชุมร่วมกัน แต่โชคไม่ค่อยดีที่การบังคับใช้นโยบายจากประชุมส่วนใหญ่เป็นไปอย่างเชื่อง ช้า“
นอกจากปัญหาการแผ่อิทธิพลในภาคพื้นสมุทรแล้ว บนภาคพื้นแผ่นดินที่อาเซียนเน้นนโยบายให้มีการเชื่อมโยงระหว่างกันนั้น ก็มีผลต่อกรณีพิพาทดินแดน ยกตัวอย่าง ไทย-กัมพูชา ปัญหาที่รุนแรงหลัก ๆ คือ ปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐาน ค้ามนุษย์ ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องมีการจัดระบบการบริหารชายแดนให้ดีกว่านี้ และสิ่งที่น่าวิตกมากที่สุดคือเรื่องการป้องกันปัญหาการก่อการร้าย ซึ่งเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ยาก ประเทศในอาเซียนที่มีผู้เดินทางไปสู้รบในซีเรียเพื่อเข้าร่วมกับกลุ่มหัว รุนแรงแล้วคือ มาเลเซีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ซึ่งกลุ่มหัวรุนแรงกำลังจะได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำในเดือนหน้านี้ พวกเขาอาจตัดสินใจที่จะเข้าร่วมกับกลุ่มแนวคิดสุดโต่งอีกครั้ง เพื่อก่อเหตุอันตรายในประเทศ ผู้ก่อการร้ายในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเรียนรู้ในพื้นที่จริงอีกต่อ ไป พวกเขาเรียนจากอินเทอร์เน็ต ทำระเบิดได้จากข้อมูลในอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นสิ่งที่ตรวจสอบได้ยาก“
ขณะที่ นายเกษมสันต์ วีระกุล นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญประเด็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกล่าวว่า ตนไม่ค่อยสนใจเรื่องเออีซี เนื่องจากแม้จะรวมกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจด้วยประชากรกว่า 600 ล้านคนหรือขนาดเศรษฐกิจ 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็ยังคงเล็กอยู่ดีเมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจโลก แต่สนใจ “อาเซียนบวกหก” (จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้และอินเดีย)มากกว่า เพราะมีอำนาจทางเศรษฐกิจสูงกว่า ประชากรมากกว่า เป็นตลาดที่ใหญ่กว่าอาเซียน ทั้งนี้ คงต้องใช้เวลาอีกราว 5-10 ปี ที่จะทำให้ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศนี้เข้าใจประโยชน์ของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ“
ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าในปี 2563 ลาวจะขยับเป็นประเทศรายได้ปานกลาง นอกจากนี้ ในอีก 5 ปี ข้างหน้าเมียนมามีแนวโน้มว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะโตขึ้นร้อยละ 7 และอินโดนีเซียก็จะโตขึ้นร้อยละ 5-6 สิงคโปร์ร้อยละ 3 มาเลเซียร้อยละ 5 ฟิลิปปินส์ร้อยละ 6 ขณะที่เวียดนามจะนำหน้าประเทศไทย โดยจีดีพีจะโตขึ้นร้อยละ 5-6 กัมพูชาร้อยละ 7 ส่วนไทยคาดว่าจะโตขึ้นไม่เกินร้อยละ 3.5 เท่านั้น.“
อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/article/343913
เข้าชม : 1752
|
|
ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด
ร่วมโครงการอบรมการพัฒนาการใช้ระบบเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้และเว็บไซต์ห้องสมุดประชาชน ณ โรงแรมเดอะเซส อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 21 / ธ.ค. / 2561
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ 10 / มี.ค. / 2560
ประกาศรับสมัคร ครู ปวช 3 / ก.พ. / 2560
ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณฯ 16 / ต.ค. / 2559
สอบปลายภาคเรียน 1/2559 5 / ก.ย. / 2559
|