เนื้อหา : สาระน่ารู้
หมวดหมู่ : บทความทั่วไป
หัวข้อเรื่อง : เผยเคล็ดไม่ลับ 9 ข้อ สกัดภัยร้ายการเงิน

เสาร์ ที่ 8 เดือน มีนาคม พ.ศ.2557

คะแนน vote : 400  

แคสเปอร์สกี้ แลป พร้อมปกป้องคุ้มครองเงินในบัญชีธนาคารของคุณ 

ด้วยเคล็ดไม่ลับสำหรับปกป้องบัตรธนาคาร ทั้งบัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด ให้รอดพ้นเงื้อมมือมิจฉาชีพที่จ้องฉกเงินคุณทุกวิธีทาง

1.เก็บข้อมูลบัตรธนาคารเป็นความลับ

จำไว้เสมอว่า เพียงแค่มีข้อมูลไม่กี่อย่างเกี่ยวกับบัตรธนาคาร (บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด) ไม่ว่าจะเป็นหมายเลขหน้าบัตร หรือรหัสตรวจสอบ มิจฉาชีพก็สามารถขโมยเงินในบัญชีคุณได้แล้ว

2.เก็บรหัส CVV เป็นความลับขั้นสุดยอด

รหัส CVV คือรหัส 3 หลัก อยู่ด้านหลังบัตรธนาคาร ใช้สำหรับตรวจสอบขั้นสุดท้ายในการทำธุรกรรม มิจฉาชีพอาจแอบจดหรือถ่ายรูปบัตรธนาคารของคุณไว้ได้ เวลาที่คุณจับจ่ายใช้สอยผ่านบัตรหรือถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็ม คุณควรป้องกันโดยลบรหัส CVV ออกหรือหาเทปกาวมาปิดทับ ทั้งนี้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงบัตรไม่ใช่เรื่องที่ธนาคารจะแนะนำ แต่เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะป้องกันคุณจากมิจฉาชีพได้

3.อย่าเผลอถ่ายรูปบัตรธนาคาร


อย่าซุกซนถ่ายรูปบัตรธนาคารเก็บไว้ หรือโพสต์ไว้ในโซเชียลมีเดียต่างๆ เพราะเท่ากับเป็นการประกาศข้อมูลลับให้ผู้ไม่หวังดี

4.เก็บรักษาบัตรไว้ในที่ปลอดภัย

บัตรพลาสติกเล็กๆ ใบนี้ ควรได้รับการดูแลป้องกันอย่างดี ควรฝึกนิสัยการเก็บบัตรลงกระเป๋าสตางค์ทุกครั้งหลังใช้งาน จะช่วยลดปัญหาหลงลืมบัตรและบัตรหายได้ ไม่ควรเก็บบัตรไว้ใกล้ๆ กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องใช้ที่มีสนามแม่เหล็ก เพราะอาจจะลบข้อมูลในบัตรได้

5.หลอกหัวขโมย

การหลอกหัวขโมยก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยปกป้องบัตรธนาคารของคุณได้เพียงเขียนรหัสปลอม (ย้ำ! รหัสปลอมที่ตั้งขึ้นใหม่) จำนวน 3 ชุดลงในเศษกระดาษและเก็บไว้ในกระเป๋าสตางค์ เมื่อเจ้าหัวขโมยเจอรหัสนี้ ก็จะนำไปลองกดที่ตู้เอทีเอ็มทันที เมื่อกดรหัสผิด 3 ครั้ง บัตรของคุณจะถูกระงับทันที ไม่สามารถถอนเงินได้อีก การทำบัตรใหม่ก็ไม่ยุ่งยาก เท่านี้คุณก็จะรักษาเงินในบัญชีได้ครบทุกบาททุกสตางค์

6.จดบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ธนาคาร

ควรจดหมายเลขโทรศัพท์ธนาคารไว้ใกล้ตัว หรือบันทึกไว้ในโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หากเกิดกรณีฉุกเฉิน จะได้สามารถติดต่อธนาคารเพื่ออายัติบัตรได้ทันท่วงที

7.ตั้งค่าการรักษาความปลอดภัย 2 ชั้น


การตั้งค่า 2 ชั้นอาจทำให้ธุรกรรมออนไลน์ช้าลงกว่าเดิมเพียงเล็กน้อย แต่จะช่วยป้องกันการเบิกถอนหรือจ่ายเงินโดยมิจฉาชีพได้ 

8.ตรวจสอบตู้เอทีเอ็มก่อนใช้งานทุกครั้ง

ก่อนเสียบบัตรเข้าเครื่อง ควรตรวจสอบว่ามีอุปกรณ์แปลกๆ น่าสงสัย ติดตั้งไว้ด้วยหรือไม่ อาจจะเป็นพวกแป้นกดรหัส ช่องเสียบบัตร หรือกล้องเว็บแคมตัวจิ๋ว

9.สังเกต HTTPS


ในการทำธุรกรรมออนไลน์ ควรตรวจสอบดูที่ช่อง URL ว่าเป็น http หรือไม่ ซึ่งต่างจาก URL ปกติที่จะมีเพียง http ตัวอย่างเช่น http://www.online.com นั่นแปลว่าเว็บไซต์ธุรกรรมของคุณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย นอกจากนี้ ควรใช้โซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยสำหรับการทำธุรกรรมออนไลน์โดยเฉพาะ เช่น Kaspersky Internet Security - Multi-Device ซึ่งมีฟังก์ชั่น Safe Banking คอยปกป้องคุ้มครองทุกการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์



เข้าชม : 6255


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      ญี่ปุ่นเตรียมติดตั้ง \"ส้วม\" ในลิฟท์ รับมือเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดบ่อยครั้ง 16 / มิ.ย. / 2558
      คนประสบความสำเร็จ “ก่อนนอน” ทำอะไร ? 14 / พ.ค. / 2557
      ความเย็นจัดรักษาโรคได้หรือ 14 / พ.ค. / 2557
      เผยเคล็ดไม่ลับ 9 ข้อ สกัดภัยร้ายการเงิน 8 / มี.ค. / 2557
      เคล็ดลับคนชอบกิน ‘เส้น’ 8 / มี.ค. / 2557




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้ [กด F5 ถ้ารหัสไม่ชัดเจน]
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ mocyc@hotmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป